เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
3. มิจฉัตตวรรค 10. อุตติยสูตร

สภาวะที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งมีองค์ 7 ประการนี้แวดล้อม เรียกว่า ‘อริย-
สัมมาสมาธิที่มีอุปนิสะ’ บ้าง ว่า ‘อริยสัมมาสมาธิที่มีบริขาร’ บ้าง”

สมาธิสูตรที่ 8 จบ

9. เวทนาสูตร
ว่าด้วยเวทนา

[29] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
“ภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้
เวทนา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์)
เวทนา 3 ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3 ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ 8 อะไรบ้าง คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อกำหนดรู้เวทนา 3
ประการนี้แล”

เวทนาสูตรที่ 9 จบ

10. อุตติยสูตร
ว่าด้วยพระอุตติยะ

[30] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอุตติยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ
ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 19 หน้า :29 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [1. มัคคสังยุต]
3. มิจฉัตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

วโรกาส ข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดคำนึงขึ้นมาว่า ‘กามคุณ 5
ประการ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้ว’ กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง ที่พระผู้
มีพระภาคได้ตรัสไว้แล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ดีละ ดีละ อุตติยะ กามคุณ 5 ประการนี้
เราได้กล่าวไว้แล้ว

กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณ 5 ประการนี้ เราได้กล่าวไว้แล้ว

อุตติยะ บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อละกามคุณ 5 ประการนี้
อริยมรรคมีองค์ 8 อะไรบ้าง คือ
1. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ 8. สัมมาสมาธิ
อุตติยะ บุคคลพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เพื่อละกามคุณ 5 ประการนี้”

อุตติยสูตรที่ 10 จบ
มิจฉัตตวรรคที่ 3 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. มิจฉัตตสูตร 2. อกุสลธัมมสูตร
3. ปฐมปฏิปทาสูตร 4. ทุติยปฏิปทาสูตร
5. ปฐมอสัปปุริสสูตร 6. ทุติยอสัปปุริสสูตร
7. กุมภสูตร 8. สมาธิสูตร
9. เวทนาสูตร 10. อุตติยสูตร